สภาพทั่วไป-ที่ตั้ง
เมื่อปี พ.ศ. 2540-2544 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบได้ขอใช้หอประชุมอำเภอม่วงสามสิบเป็นที่ทำการชั่วคราว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้ย้ายที่ทำการจากหอประชุมอำเภอม่วงสามสิบมาขอใช้ศูนย์เศรษฐกิจชุมชนของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 12 บ้านม่วงสามสิบ ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเนื้อที่ 5 ไร่ เป็นอาคารที่ทำการถาวรจนถึงปัจจุบัน
เนื้อที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบ มีพื้นที่ทั้งหมด 70.62 ตารางกิโลเมตร หรือ เท่ากับ 44,139.50 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองเมือง
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองฮาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเตย
ภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ตำบลม่วงสามสิบ เป็นที่ราบเรียบ และเป็นเนินสูงในบางแห่ง มีลำห้วยและแหล่งน้ำกระจายอยู่ทั่วไป ลำห้วยสายสำคัญ คือ ลำห้วยมะหรี่ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำเกษตรกรรมทำนา ที่ดิน สาธารณะประโยชน์ ภูมิอากาศทางอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดู
ภูมิอากาศ
มีลักษณะร้อนชื้นสลับแห้งหรือลักษณะแบบทุ่งหญ้าเขตร้อนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทุ่งหญ้า สะวันนาอยู่ภายใต้เขตมรสุม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของตำบลม่วงสามสิบ ได้แก่ ลักษณะแนวที่ตั้งลมมรสุมมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน ทิศทางพายุหมุนเขตร้อนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพายุดีเปรสชั่น ส่วนลักษณะฤดูกาล โดยปกติตามมาตรฐานสากลมีเพียงฤดูเดียว คือ ฤดูร้อนชื้นและร้อนแห้งแล้งแต่จำแนกตามภูมิศาสตร์ภูมิภาคประกอบด้วย 3 ฤดูกาล คือ
1. ฤดูร้อน มีอุณหภูมิตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคมของทุกปี
2. ฤดูฝน ได้รับปริมาณน้ำฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม
3. ฤดูหนาว ได้รับอากาศเย็นจากประเทศจีนในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์
ด้านการคมนาคม
ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบอยู่ห่างจากถนนชยางกูร 1 กิโลเมตรจึงทำให้มีรถประจำวิ่งผ่านเป็นประจำหลายสาย คือ
1. รถประจำทางสหกรณ์ร่วมมิตรเดินรถ จำกัด สายอุบล – อำนาจเจริญ
2. รถประจำทางบริษัทสหมิตร สายอุบล – อำนาจเจริญ – อุดรธานี – นครพนม
3. รถประจำทางบัส บริษัทสหพานิชสายอุบล – อำนาจเจริญ – เขมราฐ
4. รถประจำทาง บริษัทเทพพิทักษ์ทางสาย อุบล - อำนาจเจริญ
จำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน
- จำนวนหมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบ เต็มทั้งหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 2,3,4,6,7,8,9,11
- จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบ เต็มบางส่วน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,5,10,12
ท้องถิ่นอื่นในตำบล
- จำนวนเทศบาล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลม่วงสามสิบ
- จำนวนสุขาภิบาล - แห่ง
ประชากร
จำนวนประชากรปี 2565 ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงสามสิบ จำนวน 12 หมู่บ้าน
หมู่ที่ |
บ้าน |
ประชากรชาย |
ประชากรหญิง |
ประชากรรวม |
จำนวนครัวเรือน |
ผู้ปกครองหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน |
1 |
ม่วงสามสิบ |
281 |
270 |
551 |
324 |
นางรัตนี ธิบูรณ์บุญ |
2 |
หนองหัวลิง |
200 |
175 |
375 |
93 |
นายสมพงษ์ สาลี |
3 |
โนนค้อ |
236 |
222 |
458 |
109 |
นายสุวรรณ สืบสา |
4 |
หนองขอน |
155 |
156 |
311 |
117 |
นายประคอง สีแดง |
5 |
ม่วงสามสิบ |
196 |
196 |
392 |
271 |
นางสาวดวงดาว นิยมคุณ |
6 |
ตำแย |
361 |
340 |
701 |
192 |
นายหนูกร ทองโรจน์ |
7 |
เหล่าข้าว |
488 |
499 |
987 |
249 |
นายอ่อนสา การะเกษ |
8 |
เทพา |
544 |
564 |
1,108 |
337 |
นายจำนงค์ สายสั้น (กำนัน) |
9 |
ดอนยูง |
205 |
200 |
405 |
120 |
นายธีระศักดิ์ ประวิง |
10 |
ม่วงสามสิบ |
192 |
185 |
377 |
335 |
นายสมจิต สุขเลิศ |
11 |
ตำแย |
326 |
297 |
623 |
193 |
นายหอม สมานชื่น |
12 |
ม่วงสามสิบ |
184 |
206 |
380 |
223 |
นายสมศักดิ์ ทิพพันธ์ |
รวม 12 หมู่บ้าน |
3,368 |
3,310 |
6,684 |
2,563 |